ไปที่หน้าเวบนานาไบโอ

การทดลองแยกน้ำด้วยไฟฟ้า

 

อุปกรณ์

การแยกน้ำด้วยไฟฟ้าอุปกรณ์ที่ต้องใช้คือ

1. ชุดอุปกรณ์แยกน้ำด้วยไฟฟ้า 1 ชุด ประกอบด้วย ถ้วยพลาสติกใส,ฝาปิดพลาสติกใส ที่มีรูเสียบหลอดทดลอง, หลอดทดลองขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12X100 มม. ขนาด 2 หลอด, รูสำหรับขั้วไฟฟ้าบวกลบ ซึ่งเสียบผ่านจุกยางเบอร์ 1

2. น้ำกลั่น

3. ไม้ขีดไฟ

4. ถ่านไฟฉาย 9 โวลต์ หรือ 6 โวลต์ 1 ก้อน

5. สายไฟแบบมีปากคีบ 2 เส้น


วิธีการทดลอง

  1. เทน้ำใส่ถ้วยพลาสติกของเครื่องแยกน้ำด้วยไฟฟ้า จนเกือบเต็ม

  2. ปิดฝาคลอบที่มีหลอดทดลองและไฟฟ้า

  3. ปิดรูระบายอากาศแล้วคว่ำถ้วยพลาสติกเพื่อให้น้ำเข้าไปในหลอดทดลองจนเต็ม แล้วหงายถ้วยพลาสติกขึ้น

  4. ต่อสายไฟจากแบเตอรี่ 9 โวลต์เข้ากับขั้วไฟฟ้าของเครื่องแยกน้ำ ให้ครบวงจร

  5. สังเกตการเปลี่ยนแปลงในหลอดทดลองทั้ง 2 บันทึกผล

  6. เมื่อได้แก๊สเต็มหลอดหรือเกือบเต็ม โดยสังเกตุจากระดับน้ำที่ลดลงจากหลอด

  7. ถอดสายไฟออก

  8. ปิดปากหลอดทดลองไว้และทำเครื่องหมายกำกับว่าหลอดทดลองใดมาจากขั้วไฟฟ้าใด

  9. ทดสอบการติดไฟของแก๊สในหลอดทั้งสอง ทีละหลอด โดยใช้ ไม้ขีดไฟที่ติดไฟจ่อที่ปลายหลอดทันทีเมือเปิดจุกออก สังเกตุการเปลี่ยนแปลง แล้วบันทึกผล ทำการทดลองเช่นนี้ 1 ถึง 3 ซ้ำ

  10. ทดสอบการติดไฟของแก๊สที่ได้จากการทดลอง โดยใช้ธูปติดไฟที่เหลือแต่ถ่านแดง หย่อนลงในหลอดแต่ละอย่างรวดเร็วทันทีเมื่อเปิดจุกออก สังเกตผลการทดลองและบันทึกผล

วิดีโอแสดงการทดลอง การแยกน้ำด้วยไฟฟ้า

ผลการทดลอง


อภิปรายผลการทดลอง

การเกิดแก๊ส

          อัตราการเกิดแก๊สจะมีผลมาจากโมเลกุลของน้ำ จะมีไฮโดรเจน ต่อ ออกซิเจน ในอัตราส่วน 2:1 ดังนั้นในหลอดทดลองที่เกิดแก๊สไฮโดรเจน (ขั้วลบที่แบตเตอรี่)จะมีอัตราการเกิดแก็สได้เร็วกว่าฝั่งที่เกิดแก๊สออกซิเจน (ขั้วบวกที่แบตเตอรี่) นอกจากนี้เรายังสามารถสังเกตุ ชนิดของแก๊สได้จาก ระดับน้ำที่ลดลง โดยหลอดที่มีแก๊สไฮโดรเจน ระดับน้ำจะลดลงต่ำกว่า หลอดที่มีแก๊สออกซิเจน

การติดไฟ

          จากความรู้ที่ว่า หากมีประกายไฟ หรือความร้อนในบรรยากาศที่มีแก๊สไฮโดรเจนและแก๊สออกซิเจน จะเกิดการระเบิดพร้อมกับการรวมตัวกันทางเคมีระหว่างอะตอมของไฮโดรเจนและออกซิเจนเป็นโมเลกุลของน้ำ ดังนั้นในหลอดที่เป็นขั้วลบซึ่งมีแก๊สไฮโดรเจน จะเกิดประกายไฟลุกติดที่ปากหลอด ส่วนในฝั่งของหลอดที่เป็นขั้วบวกซึ่งจะเกิดแก๊สออกซิเจน เป็นแก๊สที่ช่วยให้ติดไฟจึงเป็นผลให้เปลวไฟที่ก้านไม้ขีดสว่างขึ้นเล็กน้อย


ภาพ การลุกติดของไฟของแก๊สไฮโดรเจนเมื่อมีประกายไฟ จะเกิดขึ้นในลักษณะของการระเบิดพลังงานออกมา
ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=oRAqJZwiVno


          จะเห็นได้ว่าปฏิกิริยาการแยกน้ำจะต้องได้รับพลังงานไฟฟ้า ส่วนปฏิกิริยาการรวม ของแก๊สไฮโดรเจนและแก๊สออกซิเจนเกิดเป็นโมเลกุลของน้ำจะให้พลังงานออกมา ซึ่งพลังงานที่เกี่ยวข้องในการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านี้อธิบายได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงพันธะของสารในปฏิกิริยา โดยสารต่างๆมีพลังงานสะสมอยู่ เนื่องจากการเรียงตัวของอิเล็กตรอนในพันธะเคมีระหว่างอะตอมและการเรียงตัวของอะตอม ซึ่งพลังงานดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงขณะเกิดปฏิกิริยาเคมี ในทางชีววิทยา เรียกว่า พลังงานเคมี (Chemical energy)

 

 

<===กลับไปหน้าแรก 

 

 

 

รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา

เอกสารอ้างอิง

หนังสือเรียนรายวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม เล่ม1 ตามหลักสูตรแกนกลางปี 2551

หนังสือรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา เล่ม 1 ปรับปรุง พ.ศ. 2560 ตามหลักสูตรแกนกลางปี 2551

คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ชีววิทยาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 1 ฉบับเผยแพร่ เมษายน 2563.